สรุปเจย์ พาวเวล ประธานเฟด ตอบคำถามต่อคณะกรรมการธนาคารฯ สภาคองเกรส 17 ก.ค. 2561

โดยสรุป ด้วยอัตราการว่างงานและเงินเฟ้อดูดีมากที่สุดในรอบหลายปี พาวเวลจึงให้ความเห็นว่าค่อยๆขึ้นดอกเบี้ย ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้

5556

โทน Hawkish มากๆสำหรับเจย์ พาวเวล ในงานนี้:

  • พาวเวลมองว่าในแง่ตลาดแรงงานสหรัฐ กำลังดีขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวสหรัฐยุค Baby boomer กลับมาเข้าหางานในตลาดแรงงานอีกครั้ง และ ชาวอเมริกันเชื้อสายสเปนและแอฟริกาอเมริกัน สามารถหางานได้มากขึ้น จนอัตราการว่างงานในคนกลุ่มนี้ลดลง แม้จะยังสูงกว่าชาวอเมริกันผิวขาวก็ตาม
  • พาวเวลมองว่า Tax Bill ที่ออกมาเมื่อปีที่แล้ว – เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งในแง่ของจีดีพีและเงินเฟ้อ ทว่าสว.ส่วนใหญ่มองว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับบริษัทที่ซื้อหุ้นคืน โดยสัดส่วนของค่าจ้างต่อจีดีพี ลดลงเรื่อยๆ โดยในปีที่แล้ว ต่ำที่สุดในรอบหลายปี
  • พาวเวลมองว่า อัตราเงินเฟ้อ – Core Inflation ซึ่งไม่รวมพลังงานและอาหาร ที่ใช้วัดระดับราคาในอนาคต อยู่ในระดับที่แตะร้อยละ 2 เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี

ถึงตรงนี้ พาวเวลจึงให้ความเห็นว่าค่อยๆขึ้นดอกเบี้ย ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้

  • ด้าน Trade พาวเวลมองว่าเป็นครั้งแรกที่มีการพูดถึงเรื่องการค้า กับเยอะขนาดนี้ โดยมองว่ากำแพงภาษีที่มีอัตราสูง จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโลก
  • เศรษฐกิจโลก – พาวเวลมองว่ายังดูดี แม้จะมีสารพัด เรื่องตั้งแต่ Trade War Brexit และอื่นๆ ก็ตาม
  • กฎหมายดอดด์ แฟรงค์ – สว. ส่วนใหญ่มองว่าการขยายวงเงินสินทรัพย์ขั้นต่ำ 500 ล้านดอลลาร์ให้กับสถาบันการเงินสหรัฐ จะเป็นการผ่อนคลายให้กับแบงค์มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤตได้ง่ายเหมือนในรอบวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ทว่าพาวเวลยังมั่นใจว่าได้คิดอย่างถี่ถ้วนแล้วในประเด็นนี้

  • Stress Test สว.ได้เปิดประเด็น JP Morganและ Morgan Stanley ที่สอบตก โดยมีเงินกองทุนน้อยกว่าที่ขีดเส้นไว้ ใน Stress Test ในส่วนที่เป็น CCAR (Comprehensive Capital Analysis and Review)  แล้ว เฟดแค่ให้เป็นการค้านแบบ Conditional Object โดยไม่ให้ต้องแก้ไขใหม่ รวมถึงผ่อนเกณฑ์การทดสอบ และลดเงินทุนในหน่วยงานประกันเงินฝากหรือ FDIC ด้านพาวเวลตอบว่าการทดสอบ Stress Test นี้เข้มสุดแล้ว รวมถึงเป็นขั้นตอนที่ได้รับการผ่านเป็นกฎหมายแล้ว

หมายเหตุ: สัมมนา คอร์ส “เจาะลึก Trade War ที่นักลงทุนอย่างคุณ ห้ามพลาด” & มุมมอง Macro และการลงทุน ในครึ่งปีหลัง 2018
วิทยากร: ผศ.ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
วันสัมมนา: วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2018 เวลา 9.00-12.00 น.  – หากท่านใดสนใจ ลงทะเบียนได้ตามลิงก์นี้
https://goo.gl/forms/7Kf3cvGqd15GXN3m2

Comments