แนวคิดและระบบบริหารของรัฐบาลจีน ที่ฝรั่งต้องเลียนแบบ (2)

หลายคนสงสัยว่า เหตุใดจีนจึงสามารถพาเศรษฐกิจตนเองมาจนใกล้ที่จะเป็นอันดับหนึ่งของโลกในเร็ววัน ผมขอสรุปแนวทางและระบบบริหารของรัฐบาลจีน ที่แม้แต่ชาวตะวันตกต้องนำมาเลียนแบบประยุกต์ใช้

3604

(Economic Intelligence Unit)

หลายคนสงสัยว่า เหตุใดจีนจึงสามารถพาเศรษฐกิจตนเองมาจนใกล้ที่จะเป็นอันดับหนึ่งของโลกในเร็ววัน ผมขอสรุปแนวทางและระบบบริหารของรัฐบาลจีน ที่แม้แต่ชาวตะวันตกต้องมาเลียนแบบและประยุกต์ใช้ ดังนี้

จีนต้องการ บทบาทที่มาจากส่วนกลาง

แนวคิดนี้มาจากการที่จีนเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางความคิด มีคนเคยกล่าวไว้ว่า ชาวจีน 500 ล้านคนรักการปฏิวัติเชิงพาณิชย์ของเติ้ง เสี่ยว ผิง ในขณะที่ ชาวจีนอีก 900 ล้านคน ชอบมุมมองของเหมา เจ๋อ ตุงมากกว่า หากพิจารณาในมุมของบทบาทรัฐบาลกลาง ใช้จ่ายเพียงร้อยละ 11 ต่อระบบราชการทุกระดับ และการจ้างงานทั้งหมดในระบบข้าราชการเพียงร้อยละ 4

บทสรุป สำหรับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่มีสมาชิกกว่า 90 ล้านคน เป็นกลไกสำคัญสำหรับเอกภาพของจีน แม้ว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นและการต่อสู้กันในกลุ่มและก๊วนต่างๆได้คุกคามความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของพรรค ถึงขนาดที่หลายคนได้กล่าวไว้ว่า ประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ได้ช่วยกอบกู้พรรค ประเทศ และ การทหาร โดยการยกเลิกเทอมการดำรงตำแหน่งผู้นำในฐานะประธานาธิบดี มิได้หมายความว่าจะกำจัดระบบผู้นำแบบคนเดียวตลอดไป

แบบจำลองของตะวันตกเริ่มมีปัญหา

ชาวจีนได้พัฒนาระบบราชการที่เดินเครื่องโดยกลุ่มนักวิชาการที่มีการศึกษาสูงภายใต้การกำกับของพรรคคอมมิวนิสต์ นี่คือระบบขุนนางในรูปแบบที่มีความทันสมัย ความน่าดึงดูดใจของการปกครองแบบประชาธิปไตยสไตล์ตะวันตกภายใต้ระบบทุนนิยมต่อข้าราชการรุ่นใหม่เหล่านี้ได้ลดน้อยถอยหลังไปมาก ประสบการณ์ที่เราเห็นในช่วงหลังได้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐแนวตะวันตกที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางกายภาพและสินทรัพย์ทางปัญญา คุณภาพที่ด้อยลงของผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา รวมถึงเสถียรภาพของเศรษฐกิจต่างๆ ถึงขนาดที่มีคนกล่าวว่า ‘ร้อยละ 90 ของประชาธิปไตยหลังการล้มลงของสหภาพโซเวียตถือว่าล้มเหลว’

โดยทั่วโลกมีความเชื่อมั่นในระบบการบริหารของจีนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้หมายความว่าจะกลับไปปกครองแบบเศรษฐกิจที่อยู่ในโหมดการควบคุม ทว่าต้องการรัฐบาลที่มีความบทบาทที่มีความเด็ดขาดในการสนับสนุนเจ้าของกิจการยุคใหม่และปกป้องเศรษบกิจในภาคเอกชน รวมถึงต้องการผู้นำที่เรียกว่า “core leader”

จีนไม่ได้ต้องการครอบครองโลก

แนวคิดนี้ได้รับการย้ำหลายต่อหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา โดยต้องการที่จะร่วมมือกับสหรัฐในเชิงเศรษฐกิจรวมถึงร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ในตอนนี้ คงไม่ต้องสงสัยเลยว่าจีนกำลังเป็นเป้าการโจมตีของสหรัฐ ห้วข้อที่ถูกนำมาเล่นงาน มีตั้งแต่ ทะเลจีนใต้ ไต้หวัน ดาไล ลามะ และล่าสุด การค้า โดยนี่ถือเป็นการโจมตีที่เป็นระบบ และนับวันจะรุนแรงมาขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากสหรัฐมองจีนว่าเป็นภัยคุกคามต่อการเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งของโลกทั้งทางเศรษฐกิจและทางการทหาร

ประชาธิปไตยกำลังเป็นขาลงจริงหรือ

เป้าหมายของการเจรจาการค้าของสหรัฐที่มีกับจีนถือว่าค่อนข้างคลุมเคลือ ผู้สัดทัดกรณีก็ยังมึนๆต่อสิ่งที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ต้องการ ไม่มีใครแน่ใจว่าทรัมป์ต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์อะไรกันแน่หรือเพียงแค่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งเพื่อแสดงต่อชาวอเมริกันที่ชอบเห็นการตอบโต้กับจีนเพื่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนพฤศจิกายนนี้เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่จีนได้รับการเรียกร้องคือการปกป้องสิทธิบัตรทางปัญญา ซึ่งผู้นำจีนเองก็รับปากว่าจะปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมถึงการเปิดเสรีบริการทางการเงินทางจีนก็รับปากเช่นกัน ส่วน

ประเด็น Made in China 2025 นั้น อยากให้เป็นโครงการที่ win-win ซึ่งสหรัฐจะสกัดดาวรุ่งว่าจะเจรจาเพื่อห้ามไม่ให้จีนทำการอัพเดตเทคโนโลยีถือเป็นเรื่องตลกมาก นอกจากนี้ จีนจะถูกเรียกร้องให้ลดการขาดดุลการค้ากับสหรัฐ โดยสหรัฐจะตั้งกำแพงภาษีควบคุมสินค้าส่งออกที่ถือเป็นสินค้าเชิงกลยุทธ์ อีกทั้งสหรัฐเองยังไม่มีระบบการขนส่งถ่านหินและน้ำมันที่เทียบเท่ากับมาตรฐานระดับโลก

อย่างไรก็แล้วแต่ จีนยังคงรอดจากการคุกคามของสหรัฐ

จีนเป็นประเทศที่มีภาคอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุด อีกทั้งการค้ากับสหรัฐนับวันจะลดลงเรื่อยๆ โดยจุดที่สหรัฐมีความสัมพันธ์กับจีนที่มากที่สุดคือ การนำเข้าของสหรัฐจากจีนคิดเป็นประมาณร้อยละ 4 ของจีดีพีจีน ซึ่งหากพิจารณากันจริงๆ การตั้งกำแพงภาษีในส่วนนี้ จีนอาจจะกระเมือนในช่วงสั้น แต่จะใช้เวลาปรับตัวไม่นาน โดยเป้าหมายที่แท้จริงของสหรัฐน่าจะมีมากกว่านั้นคือการสกัดเทคโนโลยีใหม่ๆไม่ให้ถึงจีน ทว่าต้องไม่ลือว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่ได้เชื่อมผ่านทางการค้าแต่อย่างใด

ถ้าจะมีสิ่งสหรัฐจะบลัฟจีนพอได้คือการทหาร ซึ่งเม็ดเงินที่ลงทุนในส่วนนี้ จะทำให้เกิดการ catch-up ได้อย่างต่อเนื่อง ในระยะยาว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจีนจะมีกองทัพระดับชั้นหนึ่ง

ปี 2018 คือปีที่จะตัดสินว่าไผเป็นไผ

เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่ทรัมป์มีความเสี่ยงที่จะทำสงครามการค้าด้วยความเสี่ยงที่ต่ำ แม้ว่าจะเทียบกับก่อนเลือกตั้งประธานธิบดี 2020 ก็ทำสงครามการค้าที่ความเสี่ยงถือว่ายังต่ำกว่า

 

Comments