วิกฤต SVB Bank: เมื่อต้มยำกุ้งเกิดที่สหรัฐ

น่าจะไม่มีใครที่จะคาดว่าวิกฤตแบงก์ครั้งใหม่จะเกิดขึ้นที่สหรัฐในช่วงนี้ ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากมีเหตุการณ์ 3 อย่างที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน ณ ธนาคารพาณิชย์สหรัฐที่มีชื่อว่า Silicon Valley Bank (SVB) Bank ดังนี้

989
(Photo by REBECCA NOBLE/AFP via Getty Images)

น่าจะไม่มีใครที่จะคาดว่าวิกฤตแบงก์ครั้งใหม่จะเกิดขึ้นที่สหรัฐในช่วงนี้ ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากมีเหตุการณ์ 3 อย่างที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน ณ ธนาคารพาณิชย์สหรัฐที่มีชื่อว่า Silicon Valley Bank (SVB) Bank ดังนี้

หนึ่ง เริ่มจากบรรดากองทุน Venture Capital (VC) ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐ ที่ในตอนนี้ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์แนว Work from Home และด้านสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซี ที่เริ่มจะไม่เฟื่องฟูเหมือนช่วงที่ผ่านมา จึงส่งผลให้นอกจากการนำเงินที่หามาได้จากการระดมเงินทุนแนว VC มาทำธุรกิจ ยังมุ่งเน้นหันมานำเงินไปลงทุนด้วยการฝากเงินและซื้อสินทรัพย์ทางการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้บรรดากองทุน VC เหล่านี้ ซึ่งมีอยู่ค่อนข้างเยอะที่เป็นลูกค้าของ SVB Bank จึงมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบระยะสั้น อายุ 2 ปี ที่มีความ Active ในตลาดค่อนข้างมาก

สอง ในการให้การ (Testimony) ของ เจย์ พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ต่อสภาคองเกรส ในคืนวันที่ 7-8 มีนาคม ที่ผ่านมา ตามเวลาบ้านเรานั้น คำแถลงของพาวเวลแสดงออกถึงความจริงจังในการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นอันมาก จนกระทั่งอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปี พุ่งทะลุเกินอัตราร้อยละ 5 ในคืนวันที่ 8 ต่อวันที่ 9 มีนาคม ซึ่งส่งผลให้บรรดากองทุน VC ที่เป็นลูกค้าของ SVB Bank แห่กันมาถอนเงินจาก SVB Bank เพื่อนำไปลงทุนในตราสารการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า จนกระทั่ง SVB Bank มีเงินไม่เพียงพอที่จะจ่ายคืนเงินฝากที่จะถอนออกไป แม้จะทำการขายพันธบัตรสหรัฐ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตราสารประเภท Mortgage-Backed อายุมากกว่า 10 ปี ที่ตนเองถือครองอยู่ด้วยราคาต่ำกว่าที่ซื้อมาค่อนข้างมากก็ตามที จนเมื่อมีลูกค้าบางรายถอนไม่ได้ ก็เริ่มที่จะมีลูกค้ารายอื่นๆแห่มาถอนเงินเนื่องจากกังวลว่าจะไม่สามารถเอาเงินออกมาได้

สาม โครงสร้างของผู้ฝากเงินของธนาคาร SVB Bank เป็นแบบที่มีปริมาณเงินฝากต่อรายค่อนข้างสูง โดยเกือบทั้งหมดเกินมูลค่าขั้นต่ำที่ 2.5 แสนดอลลาร์ ซึ่งทางหน่วยงานค้ำประกันเงินฝากสหรัฐ (FDIC) จะคุ้มครองเงินฝาก โดยเกินไปเป็นถึงหลักสิบๆเท่าของมูลค่าเงินฝากขั้นต่ำที่ FDIC ค้ำประกัน ตรงนี้ จึงส่งผลให้มีเงินฝากในสัดส่วนเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับการค้ำประกันและไม่ได้รับการจ่ายจาก SVB Bank ไปสู่ลูกค้า

(Photo by MSNBC)

คำถามแล้ว วิกฤตในครั้งนี้ จะทำให้เกิดอะไรต่อไป ผมมองว่าสามารถมองได้เป็น 2 ส่วน คือ ในระยะสั้น และ ระยะยาว

โดยในระยะสั้น ทางการสหรัฐต้องทำการจำกัดขนาดของปัญหา ด้วยการคุ้มครองเงินฝากทุกดอลลาร์ของผู้ฝากเงินต่อ SVB Bank โดย กระทรวงการคลังสหรัฐ เฟด และ FDIC ร่วมกันประกาศให้เงินกู้ฉุกเฉินแบบไม่อั้นต่อองค์กรที่ได้รับผลกระทบจาก SVB Bank และผ่อนคลายกฎที่ต้องขายหลักทรัพย์ออกเมื่อเกิดการขาดทุนจากการ Mark-to-Market (MTM)

นอกจากนี้ เฟดน่าจะต้องชะลอการขึ้นดอกเบี้ยไม่ให้เข้มข้นจนเกินไปสำหรับในช่วงนี้ไปก่อน จึงทำให้มีโอกาสสูงที่จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นในภาพรวม เมื่อเหตุการณ์วิกฤต SVB Bank เริ่มจะนิ่งกว่านี้ ซึ่งในมุมมองส่วนตัว คาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาไม่นานมากนัก

สำหรับในระยะยาว ต้องมีการเปลี่ยนเกณฑ์แบงก์แนวที่มีลูกค้าสไตล์ธุรกิจเทคโนโลยี ให้แตกต่างจากแบงก์ที่ทำธุรกิจกับประชาชนทั่วๆไป และ สร้างขั้นบันได (Tier) ของการค้ำประกันเงินฝาก ตามโครงสร้างของผู้ฝากเงินของธนาคาร โดยหากเป็นรายใหญ่ ต้องมีมูลค่าเงินขั้นต่ำที่คุ้มประกันสูงขึ้นกว่า 2.5 แสนดอลลาร์ ทว่าแน่นอนว่าธนาคารนั้นต้องจ่ายเบี้ยคุ้มครองต่อ FDIC ในอัตราที่สูงกว่าธนาคารที่มีลูกค้าเป็นรายย่อย

นอกจากนี้ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบว่าการกระจุกตัวของเงินฝากในแต่ละอุตสาหกรรมว่ามีมากเกินไปหรือไม่ ด้วยระดับและความหลากหลายของการตรวจสอบที่เข้มข้นกว่าในปัจจุบัน

ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

Comments