กองทุน พอร์ต Macro Risk Induction (MRI) คืออะไร?

พอร์ต Macro Risk Induction (MRI) ที่ทาง MacroView ร่วมกับทาง Finnomena จัดทำเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุน บทความนี้ จะขอพูดถึงพอร์ต MRI คืออะไร และ ใช้แนวคิดแบบไหนในการสแกนหากองทุนเพื่อที่จะได้ตัวเลือกกองทุนรวม เพื่อที่จะมีโอกาสผลตอบแทนที่สูงกว่าทว่ารับความเสี่ยงที่ต่ำกว่า

1353

ในช่วงนี้ หลายท่านที่แวะเยี่ยมชมเพจ MacroView น่าจะได้เห็นโฆษณากองทุน พอร์ต Macro Risk Induction (MRI) ที่ทาง MacroView ได้ร่วมกับทาง Finnomena ออกมาเป็นทางเลือกแบบกูรูพอร์ต ไว้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักลงทุน แต่หลายท่านน่าจะยังไม่ทราบว่า พอร์ต MRI คืออะไร และ ใช้แนวคิดแบบไหนในการสแกนหากองทุนเพื่อที่จะได้ตัวเลือกกองทุนรวม ที่มีโอกาสผลตอบแทนที่สูงกว่าทว่ารับความเสี่ยงที่ต่ำกว่า

บทความนี้ จะขออธิบายขั้นตอนของ MRI ในการสแกนหากองทุน ก่อนอื่น ต้องขอบอกว่าพอร์ตนี้เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่คาดหวังประมาณ 7-10% ต่อปี (ไม่ใช่การการันตี) มีระยะเวลาการลงทุน 18-36 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนที่ไม่มีเวลาศึกษาหรือหาโอกาสการลงทุนที่ดีจากภาวะผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ต่ำ
มีเงินลงทุนเริ่มต้นครั้งแรก 500,000 บาท

ขั้นตอนของการสแกนแบบ MRI มีดังนี้

  1. Macro (M): ในทุกๆชั่วโมง เราจะได้รับฟังข่าวสารเกี่ยวกับตัวเลขและมุมมองเศรษฐกิจจากสื่อต่างๆ และในทุกๆเดือน เราจะได้เห็นการตัดสินใจว่าจะขึ้นหรือลดดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางต่างๆ กับสุนทรพจน์ของบรรดานายธนาคารกลางต่างๆ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของผู้นำประเทศต่างๆข้อมูลเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นของดัชนีหุ้นของประเทศต่างๆ มูลค่าของตราสารหนี้ในตลาดประเทศต่างๆ รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน ทองคำ และ ราคาสินค้าเกษตรต่างๆเปลี่ยนแปลงไป
    ทั้งนี้ หากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีระดับการเปลี่ยนแปลงที่มากพอ เราจะสามารถใช้ข้อมูล Macro ในการเลือกสรรเพื่อเข้าลงทุนตราสารการลงทุนที่ค่อยๆน่าสนใจขึ้นมาได้ก่อนใคร ในขณะเดียวกัน จะขายตราสารการลงทุนที่คิดว่าข้อมูล Macro จะส่งผลเชิงลบต่อตราสารดังกล่าว
  2. Risk (R): หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมผมถึงนำ Risk เข้ามาใช้ในการสแกนหากองทุนด้วย?คำตอบ คือ หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าผมทำงานด้าน Risk มานานกว่าด้าน Macro เล็กน้อย

    หากสังเกตดีๆ บทความที่ผมเขียนโดยส่วนใหญ่จะใช้ตรรกะด้านความเสี่ยงเป็นหลักดังนั้น ผมจึงขอใช้ความชำนาญดังกล่าว ในการสแกนหากองทุนโดยผมขอเน้นความเสี่ยงอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

    หนึ่ง ความเสี่ยงที่จะซื้อกองทุนด้วยราคาแพงเกินไป หรือ Price (Valuation) Risk

    สอง ความเสี่ยงแบบที่รุนแรงสูงมาก แต่เกิดนานๆขึ้น หรือ Black Swan Risk

    และ สาม ความเสี่ยงเสถียรภาพด้านการเงิน หรือ Financial Stability Risk ซึ่งผมใช้อยู่บ่อยครั้งในการประเมินความเสี่ยงของกองทุนในเซกเตอร์และภูมิภาคต่างๆ

  3. วิธี Induction (I): หากใครได้รู้จักแนวทางการสืบสวนแบบเชอร์ล็อค โฮลม์ส ถือว่าตรงกับแนวทางการลงทุนแบบ Bottom Up หรือ การพิจารณาข้อสังเกตุเล็กๆน้อยๆในทุกๆอณูของข้อมูลทั้ง Macro (M) และ Risk (R) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการผสมผสานระหว่างวิธี Macro กับ Risk ซึ่งเป็นแนวคิดแบบ Top Downส่วนวิธี Induction (ผมตั้งชื่อให้สวนทางกับ Science of Deduction ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักของเชอร์ล็อคในการสืบสวนคดีต่างๆ) เป็นแนวคิดแบบ Bottom Up

    ทำให้วิธีสแกนพอร์ตกองทุนแบบ MRI มีความสมดุลระหว่างมุมมองทั้งจากด้านบนลงมาและจากขึ้นจากด้านล่างโดยวิธี Induction ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

    หนึ่ง การมองไปที่ข้อมูลต่างๆให้ลึกซึ้ง ให้สมกับสิ่งที่เชอร์ล็อคมักจะกล่าวถึง หรือ
    “to a Great Mind, NOTHING is little”

    สอง การตั้งข้อสงสัยกับจุดเด่นๆที่มองเห็นว่า… แท้จริงแล้ว ไส้ในอาจไม่เป็นเช่นนั้น หรือ
    “Never trust to general impressions, but concentrate yourself upon details”

    และ สาม การคิดทุกอย่างในรูปของโอกาสที่จะเกิดขึ้น โดยใช้วิธีตัดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ออกไป โดยส่วนที่เหลือแม้จะดูไม่น่าเป็นไปได้มากแค่ไหน ก็คือความจริงสำหรับ ชั้นสินทรัพย์ที่กองทุนกูรูพอร์ต MRI จะเข้าไปลงทุนประกอบด้วย วิธีการและสินทรัพย์ ดังนี้

    ในภาพใหญ่แล้ว ยังใช้วิธีการแบบ Core-Satellite ที่นำชั้นสินทรัพย์หลักอย่าง ตราสารทุนและตราสารหนี้ มาเป็นสินทรัพย์หลักในส่วน Core ในสัดส่วนร้อยละ 60-90 ของพอร์ตรวม

    ส่วนสินทรัพย์ทางเลือกในส่วนของ Satellite จะประกอบด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ สินทรัพย์ประเภท Cyber รวมถึง สินทรัพย์ประเภท ESG และสินทรัพย์ประเภทคริปโต ในสัดส่วนร้อยละ 10-30 ของพอร์ตรวม

    นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่พิเศษอีก 2 ประเภท คือ สินทรัพย์ประเภท Super Core ที่หมายถึงสินทรัพย์ในเซกเมนต์ที่อยู่ในประเทศซึ่งมีความชำนาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีในเซกเมนต์นั้นแบบโดดเด่นมาก รวมถึงยังมีราคาที่น่าสนใจเข้าซื้อในช่วงนั้น อาทิ AI หรือ Green Economy ในสัดส่วนร้อยละ 0-10 ของพอร์ตรวม

    กับ สินทรัพย์ประเภท Rocket ซึ่งเป็นกองทุนที่มี Story โดนใจแม้จะไม่อยู่ในข่ายของการวิเคราะห์แบบ MRI ก็ตาม ในสัดส่วนร้อยละ 0-7 ของพอร์ตรวม

    👉🏻โดยสรุป กองทุนกูรูพอร์ต MRI ได้นำ Input ที่เป็นจุดแข็งของ MacroView คือ Macro กับ Risk ของสถานการณ์ในช่วงนั้น มาเป็น Data ที่นำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองและวิเคราะห์ผ่านการพินิจพิเคราะห์สไตล์เชอร์ล็อค ที่เรียกว่า Induction อย่างทุกเหลี่ยมมุมของข้อมูลล่าสุด จากทั้ง Macro และ Risk

    ในขณะที่ มีการแบ่งลงทุนในชั้นสินทรัพย์ที่หลากหลาย ซึ่งจะเน้นสินทรัพย์หลักไปที่ตราสารทุนและตราสารหนี้ ทว่าก็มีการกระจายความเสี่ยงผ่านสินทรัพย์ทางเลือก ที่สำคัญ ในอนาคตจะมีกองทุนในแต่ละประเทศหลักที่จะเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตในระยะยาว ที่จะซื้อเข้ามาสู่พอร์ตในช่วงที่ยังไม่เป็นที่สนใจกัน

    หมายเหตุ: สนใจแนวทางการสแกนกองทุนผ่านปัจจัยเชิง Macro ความเสี่ยง (Risk) และการวิเคราะห์แบบ Induction (MRI) จาก MacroView คลิกที่ลิงก์ข้างล่างได้เลย
     ‍‍‍             👉🏻  https://finno.me/macroview-blog-2022
    ‍‍
     

Comments