‘ออสเตรเลีย’ ต้นแบบใหม่ ‘นโยบายการเงินยุคโควิด’

ธนาคารกลางออสเตรเลียว่าถือเป็นต้นแบบในการนำพาเศรษฐกิจออสเตรเลียให้ออกมาจากสภาพเศรษฐกิจหดตัวเมื่อ 1 ปีที่แล้ว ได้ค่อนข้างดีเป็นอันดับต้นๆของโลก  รวมถึงตลาดหุ้นออสเตรเลียก็สามารถทะยานขึ้นสู่จุดที่ดัชนีไปแตะจุดสูงสุดตลอดกาล  เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทความนี้ จะขออธิบายว่าทำได้อย่างไร

1404

ย้อนกลับไปเมื่อ 12 ปีก่อน ช่วงวิกฤตซับไพร์ม หลายคนยอมรับว่าฮีโร่ที่ถือเป็นต้นแบบของนโยบายการเงินของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐ

                ทว่ามาถึงวิกฤตโควิดในปัจจุบัน มีผู้เชี่ยวชาญอยู่ไม่น้อยที่เริ่มหันมามองธนาคารกลางออสเตรเลียว่าถือเป็นต้นแบบในการนำพาเศรษฐกิจออสเตรเลียให้ออกมาจากสภาพเศรษฐกิจหดตัวเมื่อ 1 ปีที่แล้ว ได้ค่อนข้างดีเป็นอันดับต้นๆของโลก  รวมถึงตลาดหุ้นออสเตรเลียก็สามารถทะยานขึ้นสู่จุดที่ดัชนีไปแตะจุดสูงสุดตลอดกาล  เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทความนี้ จะขออธิบายว่าทำได้อย่างไร

เริ่มจากตัวนโยบายต่างๆกันก่อน ในเดือนมีนาคม 2020 หลังจากวิกฤตโควิดได้เริ่มต้นขึ้น ทางธนาคารกลางออสเตรเลียได้ประกาศนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อันประกอบด้วย

  1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Cash Rate หรือ Policy Rate) ลงอีกร้อยละ 25 ที่เพิ่งลดลงไปก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.5 จนเหลือร้อยละ 0.25
  2. การให้แนวทางการดำเนินนโยบายในอนาคต (Forward Guidance) ในลักษณะที่ว่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหากการจ้างงานยังไม่เข้าสู่ระดับจ้างงานแบบเต็มที่ และ อัตราเงินเฟ้อยังไม่ถึงร้อยละ 2
  3. การลดระดับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางจ่ายสถาบันการเงินเพื่อนำเงินมาฝาก (ES Rate) จนเหลือร้อยละ 25
  4. การตั้งเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออสเตรเลียอายุ 3 ปี ไว้ที่ร้อยละ 25 หรือที่เรียกกันว่า Yield Curve Control และลงมาเหลือร้อยละ 0.1 ในเดือนพฤศจิกายน 2020
  5. โครงการปล่อยกู้ให้สถาบันการเงินระยะเวลา 3 ปี ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 25 เพื่อปล่อยกู้ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและเล็กหรือ SME ด้วยปริมาณการปล่อยกู้คิดเป็นร้อยละ 3 ของมูลค่ารวมของสินเชื่อในระบบของออสเตรเลีย ซึ่งในเดือนตุลาคม 2020 เพิ่มมูลค่าการปล่อยกู้เป็นร้อยละ 5 ของมูลค่ารวมของสินเชื่อในระบบ

แล้วในเดือนพฤศจิกายน 2020 ธนาคารกลางออสเตรเลียได้ประกาศดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยทำการซื้อพันธบัตรออสเตรเลียช่วงอายุ 5-10 ปี และเพิ่มการทำ QE อีก 100 ล้านดอลลาร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021

นโยบายทั้งหมดนี้ ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจออสเตรเลีย ตามช่องทางและกลไก ดังนี้ 162195510235 การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและ ES rate ของออสเตรเลีย ในช่วงวิกฤตโควิด

  •  การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Cash rate) ถือว่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้หลายช่องทาง โดยการที่ต้นทุนทางการเงินของแบงก์พาณิชย์ลดลง จากการที่ธนาคารกลางปล่อยกู้ต่อแบงก์พาณิชย์ด้วยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวที่ลดลง ย่อมจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของประชาชนและภาคธุรกิจลดลง ซึ่งย่อมไปส่งผลดีต่อปริมาณสินเชื่อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ

อีกทั้งยังส่งผลดีต่อกระแสเงินสดของผู้กู้อีกด้วย รวมถึงยังช่วยผลักดันให้ราคาสินทรัพย์ รวมถึงราคาที่อยู่อาศัยให้สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าความมั่งคั่งของภาคครัวเรือนและนำไปสู่การจับจ่ายใช้สอยที่มากยิ่งขึ้นในที่สุด นอกจากนี้ ยังช่วยกดดันให้ค่าเงินออสเตรเลียอ่อนลง นั่นจะส่งผลในเชิงการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับออสเตรเลียในที่สุด

นอกจากอัตราดอกเบี้ย Cash rate ที่ลดลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามช่องทางที่ได้ดังกล่าวไว้ข้างต้นแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่สามารถใช้เพื่อส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ ES rate ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แบงก์นำมาฝากกับธนาคารกลาง เพื่อทำให้แบงก์มีแรงจูงใจในการถอนเงินดังกล่าวนั้นนำไปปล่อยกู้กับภาคธุรกิจ ที่สำคัญ ปริมาณเงินซึ่งแบงก์พาณิชย์ที่ต้องการกู้เงินจากธนาคารกลางกับที่ต้องการฝากกับธนาคารกลางเริ่มที่จะมีมากขึ้น และปริมาณดังกล่าวของทั้งคู่เริ่มจะมีมูลค่าที่ใกล้เคียงกัน จนก่อให้เกิดสภาพคล่องที่ดีให้กับระบบการเงินของออสเตรเลีย ดังรูปที่ 1

  •   การให้แนวทางการดำเนินนโยบายในอนาคต (Forward Guidance) โดยธนาคารกลางออสเตรเลียได้ปรับความคาดหวังของตลาดสำหรับจังหวะเวลาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยล่าสุด ได้ประกาศว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในปี 2021 เมื่อการจ้างงานได้เป็นไปแบบเต็มที่แล้วและอัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ร้อยละ 2
  • มาตรการตั้งเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 3 ปีหรือ Yield Curve Control ไว้ที่ร้อยละ 1 โดยที่ธนาคารกลางออสเตรเลียเลือกช่วงเวลา 3 ปีไว้เป็นเป้าหมาย เนื่องจากมีมูลค่าสภาพคล่องที่มากที่สุด รวมถึงสามารถเชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยของออสเตรเลียได้ดีที่สุด โดยจะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารทางการเงินประเภทอื่นๆ อาทิ Swap rate ก็จะมีระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดังกล่าวเล็กน้อย เพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกิดขึ้นจากตราสารทางการเงินต่างๆ ทั้งนี้ มาตรการ Yield Curve Control นี้ ได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของออสเตรเลียอยู่ในระดับที่ต่ำแบบมีเสถียรภาพ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียกลับมาฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี

162195541518

กลไกการส่งผ่านของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE ต่อเศรษฐกิจ

  • การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE สำหรับพันธบัตรอายุ 5-10 ปี โดยจากรูปที่ 2 จะพบว่ามาตรการซื้อพันธบัตรระยะยาวนี้ ได้ส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินระยะยาวของออสเตรเลียให้ลดลง ซึ่งทำให้ต้นทุนการกู้ยืมระยะยาวมีระดับลดลง ส่งผลให้มีรายได้รวมสูงขึ้นและเกิดการใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์และตลาดที่อยู่อาศัยมีระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียก็มีแนวโน้มที่อ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลดีต่อมูลค่าการส่งออก โดยทั้งหมดก่อให้เกิดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยคาดกันว่า QE ในรอบนี้ของออสเตรเลียส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 10 ปี ของออสเตรเลียลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ได้ทำ QE

โดยมาตรการทั้งหมดของธนาคารกลางออสเตรเลียที่กล่าวข้างต้น ได้รับการชื่นชมจากหลายประเทศว่าทำได้ดีมากในช่วงวิกฤตโควิดนี้

Comments